21 ธ.ค. 2566 – ดร.พชรพจน์ นันทรามาศผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่าศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวได้ 2.4% ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 3% ปัจจัยหลักจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจ
21 ธ.ค. 2566 ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่าศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวได้ 2.4% ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 3% ปัจจัยหลักจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะเข้ามาเพียง 27.5 ล้านคนจากคาดการณ์ราว 30 ล้านคนส่งผลให้รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท
ขณะเดียวกันการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัวแม้ว่าอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศจะขยายตัวโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่เติบโต 7-8% แต่ผู้ผลิตไม่เติมสินค้าคงคลังหรือเติมไม่มากเท่าจำนวนที่ขายออกไปส่งผลให้สินคงคลังปรับลดลงสะท้อนว่าผู้ผลิตไม่มั่นใจว่ายอดขายจะดีต่อเนื่องหรือไม่ขณะที่มูลค่าการส่งออกทั้งปีจะติดลบที่ 1.6% จากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลักฝั่งตะวันตกที่อ่อนแอลงจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อและการฟื้นตัวต่ำกว่าคาดของเศรษฐกิจจีน
สำหรับปี 2567 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณ 3% ปรับลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 3.6% แต่หากนโยบาย Digital Wallet ดำเนินการได้เต็มวงเงิน 5 แสนล้านบาทจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้ถึง 4% ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยในปีหน้ายังเผชิญความท้าทาย 3 ปัจจัยคือ 1. การส่งออกฟื้นตัวได้จำกัดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯและยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากภาวะดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงยาวนานซึ่งเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจชัดเจนขึ้นในปีหน้าขณะที่เศรษฐกิจจีนจะเติบโตช้าลงและอาจขยายตัวไม่ถึง 5% จากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์
2.นักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัวช้ากว่าคาดส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจจีนยังมีความเปราะบางและจีนมีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทั้งมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยจากการท่องเที่ยวในไทย ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาประมาณ 32.9 ล้านคน 3.นโยบายการเงินของไทยที่ตึงตัวภายหลังจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตลอดปี 2566 ส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจและครัวเรือนนอกจากนี้ยังต้องติดตามมาตรการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible lending) ของธปท.ที่เน้นเรื่องวินัยการไม่สร้างหนี้เกินกำลังโดยจะบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2567 ซึ่งอาจกระทบต่อการเข้าถึงสินเชื่อในระบบของครัวเรือน
ภาคธุรกิจยังต้องจับตาและเตรียมรับมือกับกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนไปทั้งความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจรุนแรงขึ้นและกระแสแยกขั้ว (Decoupling) ระหว่างสหรัฐฯและจีนที่เข้มข้นและกระจายออกไปในหลายมิติความไม่แน่นอนทางการเมืองหลังการเลือกตั้งสำคัญในหลายภูมิภาคทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันเดือนมกราคมการเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียเดือนกันยายนและการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯเดือนพฤศจิกายนการปรับทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จากการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงไปสู่การเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะสร้างความผันผวนทางการเงินในช่วงการเปลี่ยนผ่านโดยเฉพาะกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่รวมถึงไทย
นอกจากนี้หลายประเทศยังมีมาตรการเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่เด่นชัดมากขึ้นเช่นการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) ของสหภาพยุโรปการจัดทำมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Taxonomy) ของไทยและกระแส digital transformation ของภาคธุรกิจจากการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้อย่างแพร่หลายซึ่งผู้ประกอบการควรปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับความท้าทายและโอกาสจากเทรนด์โลกใหม่ๆด้วยการวางแผนบริหารความเสี่ยงใช้เครื่องมือทางการเงินในการปกป้องหรือลดผลกระทบจากความผันผวนขณะเดียวกันต้องเร่งปรับตัวให้การดำเนินธุรกิจมีความยืดหยุ่นสอดรับไปกับบริบทใหม่ของโลกรวมถึงการนำนวัตกรรมสมัยใหม่และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการผลิตจำหน่ายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายช่วยลดต้นทุนและยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานและสร้างโอกาสใหม่ในการขยายตลาดไปยังผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่มีศักยภาพในอนาคตนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน